วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำ ทั้ง 4


ความเป็นมาความสำคัญ
ของ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำ

ยกตัวอย่างอารยธรรมลุ่มแม่น้ำ 5 อารยธรรม


1. อารยธรรมไทกริส - ยูเฟรติส
2.อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
3.อารธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์
4.อารยธรรมแม่น้ำฮวงโห

1. อารยธรรมไทกริส - ยูเฟรติส
ดินแดนเมโสโปเตเมีย





เมโสโปเตเมีย เป็นคำภาษากรีก แปลว่า ที่ระหว่างแม่น้ำ ดินแดน
ที่ชาวกรีกเรียกว่า เมโสโปเตเมียนี้ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำไทกรีสและ ยูเฟรตีสเป็น
ส่วนหนึ่งของ "ดินแดนรูป  พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์" ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวเปอร์เซีย 



1.1 อาณาจักรเมโสโปเตเมีย
- ชาวสุเมเรียน Sumerian ป็นชนเผ่าแรกที่เข้าครอบครอง และทำการก่อสร้างระบบชลประทานเป็นชาติแรก
- สังคมของสุเมเรียนยกย่อง เกรงกลัวเทพเจ้า นิยมก่อสร้างศาสนสถานเรียกว่า “ซิกกูแรต” สร้างด้วยอิฐตากแห้ง
- ชาวสุเมเรียน เป็นกลุ่มแรกที่ประดิษฐ์อักษร ได้แก่ อักษรลิ่ม หรือ “คูนิฟอร์ม” cuneiform นักประวัติศาสตร์จึงนับเอาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคประวัติศาสตร์
กิลกาเมซEpic of Gilgamesh เป็นมหากาพย์ ที่ถูกแต่งขึ้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับน้ำท่วมโลก
- มีความเจริญทางด้านคณิตศาสตร์ ปฏิทิน และการชั่ง ตวง วัด




1.2 อาณาจักรบาบิโลเนีย Babylonia
- หลังจากสุเมเรียนเสื่อมอำนาจ ชาวอามอไรต์ Amorite ได้ตั้งอาณาจักรบาบิโลน ขึ้นมา การปกครองแบบรวมศูนย์ การจัดเก็บภาษี การเกณฑ์ทหาร
- สมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ( 1792-1745 B.C.) ได้มี “ประมวลกฎหมายฮัมมุราบี” เป็นลายลักษณ์อักษร จารึกแผ่นศิลา ยึดถือหลัก ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ในการลงโทษ


ฮิตไทต์ Hittite
- เข้ายึดครองแทนในดินแดนแถบนี้ เมื่อ 1590 B.C.
คัสไซต์ Kassite
-
อพยพมาจาก เทือกเขาซากรอส เข้าครอบครองต่อ และมีอายุยาวนานต่อเนื่องกว่า 400 ปี

1.3 จักรวรรดิอัสซีเรีย Assyrian
- พวกอัสซีเรียน 800 B.C. ได้เข้ายึดครองกรุงบาบิโลน มีศูนย์กลางที่ นิเนเวห์
- สมัยพระเจ้าอัสชูร์บานิปาล 668-629 B.C. อัสซีเรียมีความเจริญขีดสุด


1.3 จักรวรรดิอัสซีเรีย Assyrian
-
พวกอัสซีเรียน 800 B.C. ได้เข้ายึดครองกรุงบาบิโลน มีศูนย์กลางที่ นิเนเวห์
- สมัยพระ
เจ้าอัสชูร์บานิปาล B.C. อัสซีเรียมีความเจริญขีดสุด
1.4 อาณาจักรคาลเดีย Chaldean
- 612 B.C.
เผ่าคาลเดีย เข้ายึดครองนิเนเวห์สำเร็จ สถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นใหม่
- สมัยพระเจ้า
เนบูคัดเนซซาร์ 605-562 B.C. สามารถตีเยรูซาเลม และกวาดต้นเชลยมาเป็นจำนวนมาก ได้สร้าง “สวนลอยแห่งบาบิโลน” Hanging Gardens of Babylon


- ชาวคาลเดียน เป็นชาติแรกที่นำเอาความรู้ด้านดาราศาสตร์มาพยากรณ์โชคชะตามนุษย์ และยังสามารถคำนวณด้านดาราศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ
- 539 B.C. พระเจ้าไซรัสมหาราช King Cyrus the Great
- เข้ายึดครอง และผนวกเข้ากับจักรวรรดิ์เปอร์เซีย ทำให้ประวัติศาสตร์แถบเมโสโปเตเมียสิ้นสุดลง


2.อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ





            อาณาเขตอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นอารยธรรมที่ถือกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดียและปากีสถานในปัจจุบัน ถือเป็นอารยธรรมยุคแรกๆของโลก วัฒนธรรมเก่าสุดเริ่มจาก
       1.เมืองอัมรี (Amri) บริเวณปากแม่น้ำสินธุ อายุ 4,000 B.C. พบเครื่องปั้นดินเผาระบายสี คล้ายของเมโสโปเตเมีย
2. เมืองฮารับปา และโม
เหนโจ –ดาโร อายุ 2,600 – 1,900 B.C. 
     3. เมืองชุคาร์ และจันหุดาโร อายุ 1,000 – 500 B.C.
  เป็นอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ หรือวัฒนธรรมฮารัปปา(HarappaCulture) ซึ่งเรียกชื่อตามเมือง Harappa ที่เป็นแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุนี้หากจะเปรียบกับอารยธรรมสำคัญ ๆ ในแหล่งอื่นของโลก

 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ  เริ่มประมาณ  2,500  B.C.  -  1,500 B.C. โดยชาวดราวิเดียน  ต่อมา 1,500  B.C.  –  คริสต์ศักราชที่ 6 เป็นอารยธรรมที่ชาวอารยันสร้างขึ้นจนกลายเป็นแบบแผนของอินเดียต่อมา
นอกจากนี้ยังพบหินมีค่า เช่น หยก เทอคอยท์ พบว่ามีการใช้อักษร 270 ตัว และเขียนจากขวาไปซ้าย


ลักษณะของคนเป็นพวก Proto-Australoid คือ ผิวดำ ผมหยิก ทั้งผู้หญิงและผู้ชายไว้ผมยาว ผู้ชายไว้เครา ผู้หญิงชอบเครื่องประดับ
   ลักษณะสำคัญของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
การวางผังเมือง (City Planning) แผนผังมีระเบียบ งดงาม มีถนนตัดกัน แบ่งเมืองเป็นตารางแยกพื้นที่ใช้สอยออกจากกัน เช่นที่อยู่อาศัย อาคารสาธารณะ ที่อยู่ช่างฝีมือ ยุ้งข้าว ป่าช้า ท่าเรือ พื้นที่ทางศาสนา? แสดงถึงความรู้ด้านวิศวกรรมการสำรวจและเรขาคณิตอย่างดี
•  มีถนน และซอยตัดกันเป็นมุมฉาก บ้านอยู่ 2 ฟาก ถนนมีเสาตะเกียงเป็นระยะๆ
•  การสุขาภิบาล มีประสิทธิภาพมาก ทุกบ้านมีห้องน้ำ มีท่อระบายน้ำเสีย-น้ำดี พบอ่างอาบน้ำใหญ่ เจริญกว่า
อารยธรรมอื่นจนสมัยโรมันจึงมีห้องน้ำดีๆเทียบได้
•  มีการสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการเพื่อกันผู้รุกราน มีอาวุธ กระสุนดินเผา
 ศาสนา ไม่พบโบสถ์วิหารใหญ่โต แต่ชาวสินธุคงนับถือเทพเจ้าหลายองค์ เช่น เทพีเจ้าแม่ เทพเจ้าผู้ชาย ศิวลึงค์ นับถือต้นไทร ต้นโพ ม้ามีเขา เทพมีงูจงอางแผ่แม่เบี้ยเหนือศีรษะ นับถือพระอาทิตย์ มีรูปสวัสดิกะ รูปวงล้อรถ
•   การทำศพ มีการเผาศพ เก็บขี้เถ้าใส่โกศ หรือฝังศพพร้อมของใช้ และนำศพให้แร้งการกิน แล้วจึงเก็บกระดูกใส่โกศ





3.อารธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์





ชาวอียิปต์เป็นหนึ่งในกลุ่มชนโบราณพวกแรกๆที่ประสบความสำเร็จในการสร้างและพัฒนาอารยธรรมของตนเนื่องจากมีปราการธรรมชาติอย่าง ทะเลทรายซาฮาราทำให้อียิปต์ปราศจากการคุกคามจากศัตรูทางบกและความสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์ก็ทำให้ปัญหาความอดอยากแทบไม่ปรากฏด้วย เหตุนี้พวกเขาจึงสามารถ พัฒนาอารยธรรมได้โดยปราศจาก
อุปสรรคใดๆ

นักประศาสตร์แบ่งช่วงเวลาสามพันปีของอียิปต์ออกเป็นช่วงต่างๆ โดยเริ่มจาก
ปลายยุคก่อนราชวงศ์ (3100 ปี ก่อนค.ศ.) เป็นยุคที่ยังไม่ได้ตั้งเป็นอาณาจักร
ยุคอาณาจักรเก่า เริ่มตั้งแต่ 2950 - 2150 ปีก่อน ค.ศ. ประกอบด้วยราชวงศ์ที่หนึ่งถึงราชวงศ์ที่แปด
ยุครอยต่อของอาณาจักร (2125 - 1975 ปี ก่อน ค.ศ.) ประกอบด้วยราชวงศ์ที่เก้าถึงสิบเอ็ด
ยุคอาณาจักรกลาง เริ่มตั้งแต่ 1975 - 1520 ปีก่อน ค.ศ. ประกอบด้วยราชวงศ์ที่สิบสองถึงสิบเจ็ด
ยุคอาณาจักรใหม่ เริ่มตั้งแต่ 1539 - 1075 ปี ก่อน ค.ศ. ประกอบด้วยราชวงศ์ที่สิบแปดถึงยี่สิบ

















มีการประดิษฐ์อักษรฮีโรกลิฟ เมื่อ ราว 4,00ปีก่อนค.ศ.  มีความหมายว่าอักษรอัน ศักดิ์สิทธิ์ เพราะใช้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา บันทึกเป็นอักษรภาพแสดงความหมายสิ่งต่างๆใช้ภาพแทนเสียงและพยัญชนะต่อมาดัดแปลเป็นอักษรหวัดเรียก อักษรฮีราติก  บันทึกเรื่องราวทั่วไป รู้จักทำกระดาษจากต้นกก เรียกปาปิรัส รู้จักทำกระดาษเป็นชาติแรก paper มาจากคำว่า papyrus หมึกเขียนใช้ยางไม้ละลายน้ำผสมเขม่า ปากกาทำจากก้านต้นอ้อ






การบันทึกด้วยอักษรฮีโรกลีฟิฟเป็นความลับตลอด 2,000 ปีอักษรฮีโรกลิฟไม่มีผู้ใดใช้เมื่อสิ้นสุดอียิปต์โบราณ จน ค.ศ. 1799 ทหารฝรั่งเศสชื่อบูรชาร์ด พบแผ่นหินชนวน จารึกอักษรกรีก  อักษรเฮียโรกลีฟ  อักษรเดโมติก ที่เมืองโรเชตตา ในประเทศอียิปต์ ใน ค.ศ. 1822 นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ชื่อ ฟรองซัวส์  ชองโปลิยอง สามารถถอดข้อความอักษรฮีโรกลีฟได้โดยเทียบเคียงกับอักษรกรีก



อียิปต์มีความเจริญด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์  เรขาคณิตคำนวณการสร้างปิรามิดวิหาร คิดค้นระบบการนับเลข  คำนวณค่าบวกลบ และหาร หาพื้นที่และปริมาตร  คิดค้นปฎิทินทาง สุริยคติ ปีหนึ่งมี 360 วัน
12 เดือน เดือนหนึ่งมี 30 วัน ที่เหลือ 5 วันเป็นวันสำคัญในช่วงปลายปี  
 หาตำแหน่งดวงจันทร์ ดวงดาว 

4.อารยธรรมจีนในแถบลุ่มแม่น้ำฮวงโห
แม่น้ำฮวงโห "   หรือ แม่น้ำหวงเหอ หรือ แม่น้ำเหลือง เป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับสองของประเทศจีน รองจากแม่น้ำแยงซีเกียง มีความยาว 5,464 กิโลเมตร [1] สูงเหนือระดับน้ำทะเล ถึง 4,500 เมตร [2]ไหลจากฝั่งตะวันตกมาทางตะวันออก ผ่านมณฑล ชิงไห่ เสฉวน กานซู หนิงเซี่ย มองโกเลียใน ซานซี เหอหนาน และซานตง ออกสู่ทะเลโป๋ไห่ซึ่งเป็นทะเลในอ่าวทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน



ลุ่มน้ำฮวงโห เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมจีนมาช้านาน
แม่น้ำฮวงโหเป็นแม่น้ำที่ใหญ่เป็นอันดับสองของจีน ไหลจากฝั่งตะวันตกมาทางตะวันออก ยาวทั้งสิ้น 5464 กิโลเมตร เหตุที่ได้ชื่อว่าฮวงโห (จีนแต้จิ๋ว) หรือ หวงเหอ (จีนกลาง) – แม่น้ำเหลือง” ก็เพราะว่า น้ำในแม่น้ำมีสีเหลือง แต่ทว่า เดิมทีน้ำในแม่น้ำฮวงโหมิได้เป็นสีเหลืองแม้แต่น้อย เพียงแต่เป็นเพราะตอนที่แม่น้ำฮวงโหไหลผ่านที่ราบสูงที่เกิดจากดินเหลือง (ดินดี) จึงได้พัดพาเศษตะกอนดินทรายสีเหลืองมาด้วยเป็นจำนวนมาก ดังนั้น กระแสน้ำในช่วงครึ่งหลังจึงเปลี่ยนเป็นสีเหลือง บางช่วงของแม่น้ำฮวงโหมีความคดเคี้ยวมาก ดังนั้น จึงถูกขนานนามว่า “แม่น้ำฮวงโหเก้าโค้ง” เวลาที่ล่องเรือมาถึงบริเวณเหล่านี้ ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
ในสมัยโบราณ ลุ่มแม่น้ำฮวงโหมีสภาพดินฟ้าอากาศอบอุ่น เป็นบริเวณที่ตั้งรกรากของชนชาวจีนมาแต่แรกเริ่ม มีเมืองหลวงเก่า 5 แห่งในจำนวน “เมืองหลวงที่ยิ่งใหญ่ 7 แห่ง - ซีอาน, ลั่วหยาง, นานกิง, ปักกิ่ง, ไคฟง, หางโจว, อานหยาง”ของประเทศจีน ตั้งอยู่ตามลุ่มแม่น้ำฮวงโห อีกทั้งสิ่งประดิษฐ์ในยุคโบราณที่สำคัญยิ่ง 4 อย่างของจีน ( กระดาษ, การพิมพ์, เข็มทิศ, ดินปืน ) ก็มีแหล่งกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห ดังนั้น เราจึงกล่าวได้ว่าแม่น้ำฮวงโหเป็นสายน้ำที่ก่อกำเนิดของชนชาวจีน


ผลงานของขงจื๊อรวบรวมไว้เรียก ตำรับ 5 เล่มของขงจื๊อประกอบด้วย
  
      1)  อี้จิง ตำรับว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง
        2)  ชู
จิง ตำรับว่าด้วยประวัติศาสตร์
        3)  
ซือจิง ว่าด้วยกาพย์กลอน
        4)  
หลี่จิ้ง ว่าด้วยพิธีการ
        5)  ชุน
ชิว พงศาวดารฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วง

อ้างอิงจาก :


                             ข้อมูลเพิ่มเติม 

         จัดทำโดย 
นางสาว นิศา  เลาะวิถี ม.6.8






















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น